สายตาสั้นไม่เท่ากัน ตัดแว่นยังไง รีวิวเคสที่ MATTAYA CLINIC

ค่าสายตาไม่เท่ากัน

เคสรีวิวนี้นับว่าเป็นเคสหนึ่งที่คุณลูกค้ามีปัญหา สายตาสั้นไม่เท่ากัน มีความแตกต่างระหว่างตาซ้ายและขวามากเกินไป ทำให้เวลาใส่แว่นสายตา มองไม่ชัด เวียนหัว ซึ่งในเคสนี้หมอมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง ไปชมกันค่ะ

เลือกอ่านหัวข้อสายตาสั้นไม่เท่ากันที่สนใจได้เลยค่ะ

ปัญหา สายตาสั้นไม่เท่ากัน ที่ตรวจพบในปัจจุบัน

คุณศิริพงษ์ มีปัญหาสายตาสั้นไม่เท่ากัน และมีแว่นเดิมที่ตัดมาเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเริ่มรู้สึกมองผ่านแว่นดังกล่าวไม่ชัด

ด้วยความที่คุณศิริพงษ์เป็นคนไม่ติดแว่นจึงได้หาข้อมูลและตัดสินใจไปปรึกษาแพทย์เพื่อต้องการทำเลสิค แต่แพทย์ได้พิจารณาแล้วว่าคุณศิริพงษ์นั้นไม่สามารถทำเลสิคได้ เนื่องจากมีชั้นกระจกตาที่บาง ดังนั้นคุณศิริพงษ์จึงได้ตัดสินใจมาแก้ไขปัญหาสายตาด้วยแว่นตาที่ MATTAYA VISION CENTER  ค่ะ

สายตาสั้นไม่เท่ากัน

หลังจากที่หมอซักประวัติเรียบร้อยแล้ว หมอได้ทำการตรวจวัดสายตาคุณลูกค้าแบบละเอียด โดยใช้เครื่อง Auto-refractor และ Phoropter ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยที่ให้ความแม่นยำสูงสุดได้ค่าดังนี้

ค่าสายตาสั้นไม่เท่ากันของคุณศิริพงษ์

แว่นปัจจุบันที่เป็นเลนส์ชั้นเดียว ค่าสายตาคือ

ข้างขวา  : -1.25-0.25×20 ระดับการมองเห็นแย่กว่า 20/600

ข้างซ้าย : -0.50-0.25×146 ระดับการมองเห็น 20/20-1

ค่าสายตาล่าสุดที่หมอวัดได้คือ

ข้างขวา  : -4.75-0.50×60 ระดับการมองเห็น 20/25

ข้างซ้าย : -1.00 ระดับการมองเห็น 20/20

สายตาสั้นไม่เท่ากัน อาการเป็นอย่างไรบ้าง

หลังจากที่คุณหมอสายตาซักประวัติเรียบร้อยแล้ว และได้ทำการตรวจวัดสายตาคุณศิริพงษ์แบบละเอียด โดยใช้เครื่อง Auto-refractor และ Phoropter ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยที่ให้ความแม่นยำสูงสุด พบว่า คุณศิริพงษ์มีภาวะที่เรียกว่า สายตาสั้นไม่เท่ากัน หรือ High Anisometropia เนื่องจากมีค่าสายตาทั้งสองข้างไม่เท่ากันเกินกว่า 2.00 D

ซึ่งในเคสของคุณศิริพงษ์เป็นสายตาสั้นสองข้างไม่เท่ากัน ข้างขวาสั้น -4.75 D และข้างซ้ายสั้น -1.00 D จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าค่าสายตาทั้งสองข้างของคุณศิริพงษ์นั้นแตกต่างกันถึง 3.75 Dioptors

ซึ่งตัวแว่นเดิมที่คุณศิริพงษ์สวมอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสายตาของคุณศิริพงษ์ได้อย่างเพียงพอ เปรียบเสมือนตอนนี้คุณศิริพงษ์สวมใส่แว่นเพื่อใช้เพียงตาข้างซ้ายเป็นตาหลักในการใช้งานเพื่อรับรู้ภาพ ส่วนในตาข้างขวาแทบไม่ได้มีการใช้งานเลย

ส่งผลให้เมื่อเวลามองด้วยตาทั้งสองข้างพร้อมกัน จึงเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากถูกความเบลอจากตาข้างขวาเข้ามารบกวนการมองเห็น วิธีการแก้ไขของหมอ คือ ทำให้ตาข้างขวาของคุณศิริพงษ์สามารถมองเห็นได้คมชัดขึ้น

สายตาสั้นไม่เท่ากัน ตัดแว่นยังไง

ความยากของเคสสายตาสั้นไม่เท่ากันคือ เมื่อแก้ไขด้วยการตัดแว่นสายตาจะต้องใช้เลนส์แว่นตากำลังต่างกัน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Aniseikonia คือ เกิดความแตกต่างของขนาดภาพที่ไปตกลงบนจอประสาทตา

โดยยิ่งเลนส์เป็นลบมากเท่าไหร่ จะให้ภาพที่ตกลงบนจอประสาทตาเล็กลงเท่านั้น ดังเช่นในกรณีของคุณศิริพงษ์ที่มีค่าสายตาสองข้างแตกต่างกัน หากหมอจ่ายแว่นที่ตรงกับค่าสายตาคือข้างขวาเป็นเลนส์ลบ 4.75 D และ ข้างซ้ายเป็นเลนส์ลบ 1.00 D จะส่งผลให้ภาพที่ตกลงบนจอประสาทตาข้างขวามีขนาดเล็กกว่าภาพที่ตกลงบนจอประสาทตาข้างซ้ายเป็นอย่างมาก หรือคิดเป็นภาพจากตาขวาจะเล็กกว่าตาซ้ายประมาณ 7 % ซึ่งจะทำให้คุณศิริพงษ์เกิดความไม่สบายตา ปวดหัว หรือมึนหัวได้

โดยปกติเราจะสามารถทนต่ออาการแสดงที่เกิดขึ้นหรือสามารถปรับตัวใส่แว่นได้ในกรณีที่ภาพจากตาทั้ง 2 ข้าง ไม่เท่ากันได้ไม่เกิน 6 – 7 % ดังนั้นหมอจึงลองลดค่าสายตาในตาข้างขวาลงแล้วให้คุณศิริพงษ์ทดลองเดินและทดลองใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง พบว่าค่าสายตาที่คุณศิริพงษ์สามารถใส่ได้โดยที่การมองเห็นคมชัดขึ้นและไม่มีอาการแสดงที่เกิดจาก Aniseikonia คือข้างขวาเป็นเลนส์ลบ 2.50 D และข้างซ้ายเป็นเลนส์ลบ 1.00 D

ถึงแม้จะไม่สามารถแก้ไขระดับการมองเห็นในตาข้างขวาให้ได้การมองเห็นที่สามารถทำให้ได้ดีที่สุดได้ แต่วิธีนี้ถือเป็นการกระตุ้นตาข้างขวาของคุณศิริพงษ์ให้ได้ใช้งานอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ปัญหาสายตาสั้นไม่เท่ากันบรรเทาลง

โดยหมอได้มีการนัดเพื่อติดตามอาการถัดไปอีก 6 เดือน หากสมองสามารถรับรู้และเรียนรู้เพื่อทำความคุ้นชินกับการที่ภาพบนจอประสาทตามีขนาดแตกต่างกันได้แล้ว หมอจะทำการตรวจวัดระดับการมองเห็นและตรวจวัดสายตาของคุณศิริพงษ์แบบละเอียดอีกครั้ง และอาจมีการเพิ่มกำลังของเลนส์แว่นตาเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตาข้างขวาของศิริพงษ์สามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การเลือกเลนส์สายตา จำเป็นต้องเลนส์ที่ย่อบางเพื่อให้ความหนาของเลนส์ใกล้เคียงกัน และเลือกเลนส์ที่มีเทคโนโลยีรองรับค่าสายตาสองข้างที่ไม่เท่ากัน เพื่อให้มุมมองภาพใกล้เคียงกันด้วย

สายตาสั้นไม่เท่ากัน เลือกกรอบแว่นยังไง

การเลือกกรอบแว่นในกรณีที่เลนส์แว่นตามีค่าสายตาสั้นเยอะๆ หรือค่าสายตาสั้นไม่เท่ากันแบบกรณีของคุณศิริพงษ์ หมอขอแนะนำให้ใช้

  1. กรอบแว่นที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เนื่องจากกรอบแว่นที่ใหญ่จะทำให้เราเผลอไปมองภาพด้านข้างที่เป็นภาพบิดเบือน อีกทั้งจะทำให้น้ำหนักแว่นมีความหนักทำให้เกิดความไม่สบายตาเวลาที่สวมใส่แว่น
  2. กรอบแว่นที่มีความกระชับกับใบหน้า ไม่เลื่อนหลุดง่าย
  3. ต้องมีแป้นจมูกที่ปรับแต่งได้ เพื่อให้สามารถปรับความสูงต่ำของจุด Center ของแว่นให้ตรงกับรูม่านตาของผู้ที่สวมใส่

สรุป

สายตาสั้นไม่เท่ากัน ถือเป็นปัญหาสายตาที่แก้ไขด้วยแว่นสายตาได้ค่อนข้างยาก จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการตรวจวัดสายตา และเลือกค่าสายตาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สวมใส่แว่นมองเห็นได้คมชัดและยังคงสบายตา ไม่มึน หรือ ปวดศีรษะระหว่างวัน

นอกจากนั้นด้วยความที่ค่าสายตาสั้นไม่เท่ากัน จึงต้องเลือกเลนส์สายตาและกรอบแว่นที่เหมาะสม เพื่อให้มุมมองภาพสองข้างใกล้เคียงกัน

MATTAYA VISION CENTER ขอขอบพระคุณ คุณศิริพงษ์ เป็นอย่างสูง ที่ให้ความไว้วางใจให้คุณหมอและทีมงานนักทัศนมาตรในการดูแลและให้คำปรึกษาในเรื่องของปัญหาสายตา

หากคุณมีปัญหาสายตาสั้นสองข้างไม่เท่ากัน และยังไม่มั่นใจว่าจะเลือกแว่นสายตาแบบใดดีที่จะเหมาะต่อการใช้งานของเรามากที่สุด สามารเข้ามาปรึกษาที่ MATTAYA VISION CENTER ได้ทุกสาขาเลยค่ะ